ผลงานอิฐบล๊อกเรืองแสงจากเปลือกหอยนางรมสร้างสรรค์โดยทีม “มิตร” นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งออกแบบมาเพื่อเป็นรายได้เสริมให้แก่ชุมชนบ้านตะกาดเง้าในจังหวัดจันทบุรี ได้รับรางวัลชนะเลิศจากนวัตกรรมชุมชนจาก “โครงการแค่ใจก็เพียงพอประจำปี 2562” ของนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย
โครงการแค่ใจก็เพียงพอที่สนับสนุนให้นักศึกษาได้ออกแบบและสร้างสรรค์การแก้ไขปัญหาขยะ และของเหลือใช้ เพื่อส่งเสริมรายได้ในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตที่ชุมชนอาจได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
“ในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ การช่วยเหลือกันถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง การที่น้องๆ นักศึกษาสามารถสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนเหล่านี้ ในการลดปริมาณขยะในพื้นที่ พร้อมทั้งสร้างรายได้เพิ่มเติมให้แก่ชุมชน ถือเป็นเรื่องที่น่าประทับใจและน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง” ราเมช นาราสิมัน ประธานนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าว “ด้วยแนวคิดของทีม “มิตร” ผู้ชนะเลิศในครั้งนี้ ที่สร้างสรรค์และบูรณาการนวัตกรรมเพื่อสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าด้วยกัน ในการนำเปลือกหอยนางรมเหลือทิ้งจำนวนมาก มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดและสามารถขายเป็นรายได้เสริมให้กับชุมชนได้”
โดยผลงานผลิตภัณฑ์ที่ชนะเลิศจากทีม “มิตร” คือ “อิฐ อึด อึด” และ “ทางเดินวิบวับ” ซึ่งเป็นอิฐบล๊อกที่มีส่วนผสมจากเปลือกหอยนางรมและคอนกรีต อิฐปูทางเดินเรืองแสง ซึ่งสามารถนำไปใช้สำหรับการตกแต่งสวน ใช้ในการก่อสร้าง หรือการสร้างถนน ซึ่งความโดดเด่นนี้ เป็นการนำเปลือกหอยนางรมที่ถูกทิ้งไว้ในชุมชนมาใช้ได้อย่างชาญฉลาด ที่สำคัญคือ มีน้ำหนักเบากว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องตลาด ดูดซับน้ำน้อย มีความยืดหยุ่น ทำให้ไม่ลื่น รวมทั้งยังสามารถผลิตได้ในรูปทรงและขนาดที่หลากหลายได้
ทีม “มิตร” ได้รับเป็นทุนการศึกษาจำนวน 250,000 บาท พร้อมมอบเงินสนับสนุนการศึกษาอีก 50,000 บาท ให้แก่มหาวิทยาลัย เป็นรางวัลชนะเลิศจากนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ในการช่วยแก้ไขปัญหาการจัดการขยะนี้ พร้อมทั้งช่วยเสริมรายได้ให้กับชุมชนบ้านตะกาดเง้าอีกด้วย
“พวกเราขอขอบคุณนิสสัน ที่ได้ช่วยให้เราเข้าใจคำว่า นวัตกรรมเพื่อสังคมมากขึ้น ผ่านโครงการแค่ใจก็เพียงพอประจำปี 2562 เราทุกคนรู้สึกภูมิใจมากในฐานะนักศึกษาที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ที่เราได้นำเสนอ” กัลยารัตน์ บุญเยี่ยมธนะดี และกัญญ์ชนา กอทอง สมาชิกทีมชนะเลิศ ทีม “มิตร”กล่าว
ณรงค์กร ภิบาลชนม์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ชุมชนบ้านตะกาดเง้า กล่าวว่า “เปลือกหอยนางรมถือเป็นปัญหาของชุมชนมาอย่างยาวนาน เรารู้สึกดีใจมากที่นิสสันและนักศึกษา ได้เข้ามาช่วยเหลือชุมชนในการจัดการปัญหานี้ ซึ่งไม่ใช้แค่ช่วยแก้ไขแต่ยังช่วยสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้แก่ชุมชนด้วย เราจะทำงานร่วมกับน้อง ๆ นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบชิ้นนี้ให้เป็นจริงให้ได้”
ทีมรองชนะเลิศอันดับหนึ่งคือ “กลุ่มใจ” จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้สร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์จากขยะถุงพลาสติกในชุมชนบ้านน้ำใส จังหวัดจันทบุรี ให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถปกป้องลูกทุเรียนในการขนส่ง เนื่องจากไม่สามารถใช้บรรจุภัณฑ์ทั่วไปได้ รวมถึงยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
“โครงการนี้ช่วยยกระดับความคิดของเราในการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุดตามที่ชุมชนต้องการ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ต้องช่วยเสริมรายได้ให้กับชุมชนด้วย นี่คือคุณค่าที่แท้จริงที่เราสามารถสร้างได้” กล่าวโดยโสรยา ระดาฤทธิ์ นักศึกษาสาขาออกแบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากทีม “กลุ่มใจ”
ทีมรองชนะเลิศอันดับที่สอง “เดอะ แกลบ คราฟ” จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับผลงานของที่ใช้สไตล์คราฟจากขยะพลาสติกหลายรูปแบบ ในชื่อ “สายคราฟ” เช่น คลิปหนีบปิดถุงรูปนก แท่นวางโทรศัพท์มือถือ รูปวาฬและปลาฉลาม โดยในแต่ละชุดจะใช้ขวดพลาสติกจำนวน 7 ขวดในการผลิต โดยจะนำรายได้ส่วนหนึ่งไปใช้ในการปลูกต้นไม้ในชุมชนบ้านน้ำใส จังหวัดจันทบุรี
“ขอแสดงความยินดีกับทั้งหกทีม ซึ่งทุกคนถือว่าได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์การจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นในชุมชน อีกทั้งร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในอนาคต” นิธิศ ธนะมูล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจา กล่าว
“โครงการแค่ใจก็เพียงพอ ของนิสสัน ทำให้เราได้เรียนรู้การช่วยเหลือ สนับสนุนและแบ่งปันข้อมูลกันเพื่อช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบเหล่านี้ เราขอขอบคุณทางนิสสัน ประเทศไทย ที่ได้นำโครงการนี้มาสู่ตำบลทุ่งเบญจา และชุมชนต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้เราสามารถพัฒนาชุมชนต้นแบบได้อย่างยั่งยืน” นิธิศ กล่าวเสริม
โครงการแค่ใจก็เพียงพอประจำปี 2562 ในรอบสุดท้ายนี้ จัดขึ้นที่จังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 13 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยทั้งหกทีมที่เข้าสู่รอบสุดท้ายได้ทำการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้พัฒนาร่วมกับชุมชนมามากว่า 5 เดือน ให้แก่สื่อมวลชนกว่า 20 คน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่จากหน่วยราชการ และผู้บริหารนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย
ดร.ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม ที่ปรึกษาอาวุโส และ ผู้จัดการโปรแกรม Food Innopolis สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวขอบคุณชุมชนที่ได้สนับสนุนห้องวิจัยธรรมชาติให้แก่นิสสัน และนักศึกษาเป็นอย่างดีตลอด 5 เดือนที่ผ่านมาว่า
“ผมได้เห็นพัฒนาการที่ยอดเยี่ยมของนวัตกรรมต้นแบบทั้งหกชิ้น ซึ่งชุมชนสามารถนำไปต่อยอดทั้งในด้านการใช้งานและการขายเพื่อเสริมสร้างรายได้ได้ ผมขอชื่นชมที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันกลั่นความคิดในการพัมนาโครงการนี้ให้เป็นต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีประโยชน์ต่อสังคมไทย”
โครงการแค่ใจก็เพียงพอ เริ่มต้นเมื่อปี 2560 เพื่อสานต่อและน้อมนำคำสอนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยในปีนี้ โครงการได้ถูกออกแบบเพื่อมุ่งเน้นการช่วยเหลือชุมชน และส่งเสริมนักศึกษาทั่วประเทศ ด้วยการสร้างนวัตกรรมชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาที่แท้จริงในชุมชน ให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป
ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการแค่ใจก็เพียงพอ และทีมชนะเลิศ ได้ที่ แค่ใจก็เพียงพอ.com หรือกด like เพจ Facebook แค่ใจก็เพียงพอ หรือกด ติดตามได้ที่ Instrgram
ทีม “มิตร” จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ชนะเลิศจาก “โครงการแค่ใจก็เพียงพอประจำปี2562”
รางวัลชนะเลิศผลิตภัณฑ์ต้นแบบ “อิฐ อึด อึด” และ “ทางเดินวิบวับ”
อิฐบล๊อกและอิฐปูทางเดินเรืองแสงที่มีส่วนผสมจากเปลือกหอยนางรมในชุมชน
ปีเตอร์ แกลลี รองประธานสายงานสื่อสารองค์กร นิสสัน ประเทศไทย ถ่ายภาพร่วมกับนักศึกษาจากทีม “มิตร” ผู้ชนะเลิศในโครงการฯ ในปีนี้
รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ทีม “กลุ่มใจ” กับผลงาน บรรจุภัณฑ์ใส่ทุเรียนจากขยะถุงพลาสติก ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นถุงใส่ของต่อได้
“สายคราฟ” ของใช้สไตล์คราฟจากขยะพลาสติก สร้างสรรค์โดยทีมรองชนะเลิศอันดับสอง ทีม “เดอะแกลบคราฟ” จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ทีม “ต้า” จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พัฒนาเก้าอี้สนามปรับเปลี่ยนรูปแบบได้จากปูนเปลือกหอยนางรม ในชื่อผลงาน “จันตกาด”
ทีม “ฮักนะมันแกว” จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามนำทุเรียนตัดแต่งทิ้งมาผลิตงภาชนะจากผลทุเรียนภายใต้ผลงาน “เรียนน้อย”
ทีม “B.E. Case” จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาถ่านชีวมวลที่ผลิตจากผลทุเรียนตัดแต่งทิ้ง ในชื่อผลงาน “น้ำใจ ไบโอชาร์”
สื่อมวลชนร่วมฟังการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พร้อมตั้งคำถามและให้ข้อเสนอแนะแก่นักศึกษา
นักศึกษานำเสนอผลงานการสร้างสรรค์ให้แก่ผู้นำชุมชน และสื่อมวลชนด้วยความมุ่งมั่น
ชุมชนให้ข้อเสนอแนะต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบของนักศึกษา
ผู้บริหารนิสสัน สื่อมวลชน ผู้นำชุมชน และนักศึกษาถ่ายภาพร่วมกันในโครงการแค่ใจก็เพียงพอประจำปี 2562