นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม เปิดฤดูกาลขายประจำปี 2566 ด้วยยอดขาย 65,579 คัน ลดลง 5.6% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 22,864 คัน ลดลง 2.1% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 42,715 คัน ลดลง 7.3% และรถกระบะขนาด 1 ตัน มียอดขายที่31,771 คัน ลดลง 9.1%
ประเด็นสำคัญ
ตลาดรถยนต์เดือนมกราคม 2566 มีปริมาณการขาย 65,579 คัน ลดลง 5.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เปิดฤดูกาลขายตามดัชนีการขายประจำไตรมาสแรกของปีที่มักชะลอตัว โดยตลาดรถยนต์นั่ง มีอัตราการเติบโตลดลงที่ 2.1% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตลดลงเช่นเดียวกันที่ 7.3% โดยมีสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตรถยนต์เป็นปัจจัยลบสำคัญที่ยังคงดำเนินอยู่ ในขณะที่ค่ายรถยนต์ต่างพยายามส่งมอบรถที่ได้รับจองในช่วงไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงงาน “มหกรรมยานยนต์” ซึ่งกำลังซื้อของลูกค้าได้ถูกใช้ไปกับแคมเปญส่งเสริมการขายที่แรงที่สุดในรอบปี
ตลาดรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์มีแนวโน้มค่อยๆ ขยับตัวดีขึ้น จากปัจจัยบวกคือภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศภายหลังการคลี่คลายของสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวดีขึ้น ช่วยส่งเสริมภาพรวมของเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม รวมไปถึงราคาพลังงานที่รักษาระดับราคา ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์ด้วยเช่นกัน
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม 2566
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 65,579 คัน ลดลง 5.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 23,796 คัน เพิ่มขึ้น 7.4% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,651 คัน ลดลง 5.0% ส่วนแบ่งตลาด 22.3%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,071 คัน ลดลง 17.1% ส่วนแบ่งตลาด 10.8%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 22,864 คัน ลดลง 2.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,664 คัน เพิ่มขึ้น 59.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 5,073 คัน ลดลง 17.6% ส่วนแบ่งตลาด 22.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,556 คัน ลดลง 21.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 42,715 คัน ลดลง 7.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,132 คัน ลดลง 9.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,651 คัน ลดลง 5.0% ส่วนแบ่งตลาด 34.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,376 คัน เพิ่มขึ้น 34.8% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 31,771 คัน ลดลง 9.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,543 คัน ลดลง 4.2% ส่วนแบ่งตลาด 42.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,602 คัน ลดลง 12.3% ส่วนแบ่งตลาด 39.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,376 คัน เพิ่มขึ้น 34.8% ส่วนแบ่งตลาด 10.6%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 5,476 คัน
โตโยต้า 2,253 คัน – อีซูซุ 1,723 คัน –ฟอร์ด 930 คัน –มิตซูบิชิ 471 คัน – นิสสัน 99 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 26,295 คัน ลดลง 12.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,820 คัน ลดลง 7.8% ส่วนแบ่งตลาด 45.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,349 คัน ลดลง 14.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,446 คัน เพิ่มขึ้น 16.0% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%