Japan International Cooperation Agency (JICA), IUCN ( International Union for Conservation of Nature ) และ Toyota Daihatsu Engineering & Manufacturing (TDEM) จัดนิทรรศการร่วมกันที่งาน Climate Solutions Fair ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุม 79th Session of the Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP) เมื่อวันที่ 15-19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่งสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
ทั้งสามองค์กรร่วมกันจัดแสดงผลงานในนามประเทศญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายเพื่อแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือผ่านโครงการต่างๆ ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ และการดำเนินการขององค์กรธุรกิจที่เอื้อต่อการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยนิทรรศการของ JICA อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินโครงการความร่วมมือ ที่เอื้อต่อการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หนึ่งในตัวอย่างความร่วมมือในประเทศไทย ได้แก่ โครงการจัดทำแผนแม่บทกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2556-2566 และฉบับใหม่ พ.ศ. 2564-2573 ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกรุงเทพมหานคร ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
TOYOTA และ IUCN ได้นำเสนอวิธีการที่ทั้งสององค์กรทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ในบัญชีแดงของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีสถานะความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (IUCN Red List of Threated Species) พร้อมกับนำเสนอแพลตฟอร์มในการสนับสนุนจากภาคธุรกิจเอกชนในประเทศไทย
โดยเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ผู้จัดงานได้มีโอกาสต้อนรับ นายอากิโมโตะ มาซาโตชิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในระหว่างการเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะเต็มของคณะกรรมาธิการ UN ESCAP
เยี่ยมชมนิทรรศการร่วม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
คุณธันยพร กฤติทัตยาวุธ UN Global Compact Network Thailand (กลาง)
เยี่ยมชมนิทรรศการร่วมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
นาย ซูซุกิ คาซยะ หัวหน้าผู้แทนสำนักงาน JICA ในประเทศไทย เปิดเผยว่า “JICA มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญระดับโลกในปัจจุบัน โดย JICA มีเป้าหมายที่จะจัดการกับปัญหาดังกล่าว โดยระดมความรู้ และความเชี่ยวชาญของเรา ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรของเรา ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน”
ดร ดินโด แคมปิลัน ผู้อำนวยการ IUCN ประจำภูมิภาคเอเชีย และ ผู้อำนวยการศูนย์โอเชียเนีย กว่าเพิ่มเติมว่า ” ความร่วมมืออันยาวนานของ IUCN กับโตโยต้า ทั้งในระดับโลก และในประเทศไทย เป็นตัวอย่างที่สำคัญของบทบาทเชิงกลยุทธ์ของภาคธุรกิจเอกชน ในการจัดการกับความหลากหลายทางชีวภาพ สภาพภูมิอากาศ และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน เราคาดหวังว่าการจัดนิทรรศการร่วมกันนี้ ภายใต้ความร่วมมือจาก TOYOTA, JICA และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย จะสร้างแรงผลักดันให้ความร่วมมือด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และการอนุรักษ์ธรรมชาติในระดับภูมิภาคต่อไป ”
นายปราซ กาเนช รองประธานบริหาร TDEM กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า “โตโยต้าตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุถึงความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ด้วยแนวทางแบบองค์รวมซึ่งครอบคลุมถึง ‘เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าที่หลากหลายสำหรับการขายรถยนต์ใหม่ด้วยแนวทางทางเลือกที่เป็นจริง และยั่งยืน รวมทั้งการลด CO2 จากทั้งวัฏจักรผลิตภัณฑ์ของรถยนต์’ เพื่อไปสู่เป้าหมายนี้ เรามีความยินดีที่ได้ทำงานร่วมกับองค์กรที่มีแนวคิดเดียวกัน เช่น IUCN ในกิจกรรมการอนุรักษ์ความหลากหลายในครั้งนี้”
ภาคผนวก :
ความร่วมมือระหว่างโตโยต้า – IUCN
IUCN และ Toyota Motor Corporation (Toyota) ได้ประกาศความร่วมมือเป็นเวลา 5 ปี ในรายการ IUCN Red List of Threatened Species เมื่อปี2559 ซึ่งช่วยเพิ่มความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงการสูญพันธุ์ของสัตว์มากกว่า 28,000 สายพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ IUCN และ Toyota ได้ร่วมกันจัดตั้งเครือข่าย B-DNA ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 โดยความร่วมมือนี้เป็นแพลตฟอร์มที่ประกอบด้วยบริษัท 17 แห่งในประเทศไทยเพื่อมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ความร่วมมือ IUCN Toyota Red List
- พันธมิตรเครือข่ายความหลากหลายทางชีวภาพประเทศไทย – พันธมิตรเครือข่ายความหลากหลายทางชีวภาพ (thailandbdna.com)
เกี่ยวกับ JICA
องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่รับผิดชอบศูนย์กลางในการดำเนินงานของความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ในฐานะองค์กรของรัฐบาลญี่ปุ่น ในความพยายามที่จะลดความยากจน และจัดการกับความท้าทายอื่นๆในประเทศคู่ค้า ในขณะที่ระดมกำลังมนุษย์ของญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งทรัพยากรทางเทคนิคและการเงิน พร้อมยกระดับความร่วมมือกับพันธมิตรของเรา
เกี่ยวกับ IUCN
IUCN เป็นสหภาพสมาชิกที่ประกอบด้วยองค์กรภาครัฐ และภาคประชาสังคม ซึ่งมีเป้าหมายมุ่งให้ความรู้และสนับสนุนเครื่องมือแก่องค์กร ภาครัฐ เอกชน เพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าของมนุษย์ การพัฒนาเศรษฐกิจ และการอนุรักษ์ธรรมชาติร่วมกัน
เกี่ยวกับโตโยต้าประเทศญี่ปุ่น
โตโยต้าก่อตั้งขึ้นในปี 2480 เป็นบริษัทยานยนต์ระดับโลกที่มีการผลิตใน 29 ประเทศและจำหน่ายในกว่า 170 ประเทศ
โตโยต้าได้ประกาศ ‘Toyota Environmental Challenge 2050’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสร้างสังคมแห่งอนาคตที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ และใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน
นอกจากนี้ โตโยต้ายังมุ่งมั่นสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนตลอดวัฏจักรผลิตภัณฑ์ภายในปี 2593 และความเป็นกลางทางคาร์บอนในโรงงานภายในปี 2578
โตโยต้าวางแผนที่จะทำให้โครงการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาวเป็นสากล และจัดทำโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยได้รับความร่วมมือกับองค์กรที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวในระดับโลก