การออกถนนใหญ่เป็นครั้งแรกสำหรับมือใหม่หัดขับนั้นน่าตื่นเต้น พอๆ กับคนที่เริ่มออกเดินทางหลังจากอยู่บ้านมานานที่รู้สึกว่าทักษะการขับรถเริ่มฝุ่นจับ ไม่คุ้นชินกับความวุ่นวายบนท้องถนน ฟอร์ดเตรียมเช็คลิสต์ 11 ข้อ ให้ผู้ขับขี่ทั้งมือใหม่และคนที่ร้างมือไปนานพร้อมออกถนนอย่างมั่นใจอีกครั้ง
1) รัดเข็มขัด! – คาดเข็มขัดนิรภัยเป็นสิ่งแรกเมื่อขึ้นรถ สำหรับผู้โดยสารที่นั่งเบาะหน้า การคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บที่มีอันตรายถึงชีวิตได้ถึง 45 เปอร์เซ็นต์และลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บปานกลางถึงรุนแรงได้ถึง 50เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอย่าลืมเตือนเพื่อนร่วมทางของคุณทุกคนให้คาดเข็มขัดนิรภัย
2) ขับเร็วเสี่ยงอันตราย – การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ง่ายที่สุด คือขับขี่ภายใต้ความเร็วที่กฎหมายกำหนด (หรือต่ำกว่านั้น หากต้องขับขี่บนถนนเปียก ทางแคบ หรือในสภาพอากาศแปรปรวน) ผู้ขับขี่วัยรุ่นอาจรู้สึกว่าความเร็วเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น และมีแนวโน้มที่จะขับเข้าโค้งหรือเร่งแซงด้วยความเร็วสูงซึ่งเสี่ยงต่ออันตราย จากข้อมูลขององค์กรอนามัยโลก การเร่งอัตราความเร็วขึ้น 1 กิโลเมตรต่อชั่วโมงสามารถเพิ่มความเสี่ยงรถชน และเกิดการบาดเจ็บสูงขึ้นถึง 3เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มถึง 4 – 5 เปอร์เซ็นต์ที่จะเกิดการชนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นไม่ควรเสี่ยงอันตรายหรือเสี่ยงต่อการเสียค่าปรับ เพียงเพื่อไปถึงที่หมายเร็วขึ้นเพียงเล็กน้อย
3) จี้ท้ายไม่เท่ – หลีกเลี่ยงการขับรถใกล้คันหน้ามากเกินไป หากคุณขับเร็วกว่าคันหน้า คุณสามารถใช้เลนขวาที่ว่างอยู่เพื่อแซงและกลับเข้าสู่เลนเดิมอีกครั้งเมื่อแซงพ้นแล้ว วิธีนี้ช่วยให้คุณเลี่ยงผู้ขับขี่ที่ขับรถเร็วท้าทายกฏจราจรได้ แต่หากคุณขับรถเร็วเสียเอง อย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่น ไม่ควรรัวสัญญาณไฟหรือขับจี้ท้ายคันหน้าเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน
4) เตรียมเอกสารสำคัญต่างๆให้พร้อม – ควรเตรียมเอกสารสำคัญเกี่ยวกับรถให้พร้อมเสมอ เช่นใบขับขี่ สำเนากรมธรรม์ประกันรถยนต์ สำเนาทะเบียนรถ รวมถึงเบอร์โทรติดต่อในกรณีฉุกเฉิน หลังช่วงเวลาล็อคดาวน์ หน่วยงานต่างๆได้ปรับกระบวนการออกเอกสารเหล่านี้ให้เข้ากับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ ล่าสุดกรมการขนส่งทางบกได้ปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างและความปลอดภัยทางด้านสาธารณสุข (Social Distancing) โดยเปิดให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ผู้ใช้บริการสามารถจองคิวล่วงหน้าเพื่อทำธุรกรรมต่างๆ เช่นทำใบขับขี่ใหม่หรือต่ออายุใบขับขี่ได้สะดวกรวดเร็ว
5) ชั่วโมงเร่งด่วน – การขับรถช้าๆ บนถนนที่แน่นขนัดในชั่วโมงเร่งด่วนอาจทำให้คุณหงุดหงิด แต่อย่าลืมเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าให้เหมาะสม เพื่อลดอุบัติเหตุเมื่อต้องเบรกกะทันหัน โดยทั่วไปอัตราความเร็วทุก 10 กม./ชม. ควรเว้นระยะห่าง 5 เมตร ดังนั้นหากขับด้วยความเร็ว 50 กม./ชม. ควรเว้นระยะห่าง 25 เมตร ผู้ขับขี่ควรประเมินสถานการณ์และอาจลดระยะห่างตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงสภาพการจราจรและพื้นผิวถนน ในรถฟอร์ด เอเวอเรสต์ มีระบบควบคุมความเร็วแบบรักษาระยะห่างอัตโนมัติ (Adaptive Cruise Control) ช่วยรักษาระยะห่างจากรถคันข้างหน้าได้อย่างเหมาะสม เพิ่มความปลอดภัยไปอีกขั้น
6) ABS คือเพื่อนร่วมทาง – ระบบเบรกป้องกันล้อล็อคช่วยควบคุมไม่ให้รถไถลออกข้างทางเมื่อเบรกกระทันหัน โดยป้องกันล้อล็อกระหว่างการเบรก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทรงตัว โดยผู้ขับขี่สามารถควบคุมทิศทางของรถได้ในขณะที่เหยียบเบรกเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง
7) ลดสิ่งรบกวนสมาธิ – สิ่งรบกวนหมายถึงทุกอย่างที่ทำให้คุณละสายตาจากถนน ไม่ว่าจะเป็นการจิบกาแฟ มองผู้โดยสารผ่านกระจกมองหลัง หรือส่งข้อความขณะขับรถ ซึ่งเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุรถชนหลายพันกรณีทั่วโลก ระบบสั่งงานด้วยเสียง SYNC3 ของฟอร์ดได้รับการออกแบบมาเพื่อลดกิจกรรมต่างๆ ที่ทำลายสมาธิของผู้ขับขี่ ทำให้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับถนนเป็นหลัก
8) งดใช้โทรศัพท์ – ไม่ใช้โทรศัพท์ระหว่างขับรถแม้ขณะติดไฟแดงเพราะตามกฏหมายไม่ว่าอย่างไรคุณก็กำลังขับรถอยู่ หากถูกจับ ตำรวจคงไม่คิดว่าการถ่ายรูปลงอินสตาแกรมขณะรถจอดติดไฟแดงเป็นข้อแก้ตัวที่ฟังขึ้น
9) ขับกลางคืน – การขับรถยามค่ำคืนเป็นความท้าทายอีกอย่างหนึ่ง ทั้งการกะระยะที่ยากขึ้น ประสิทธิภาพการมองเห็นที่ลดลง แถมยังต้องเผชิญกับไฟหน้าแรงสูงของรถที่สวนมาอีก ควรขับรถให้ช้าลงเพื่อให้เวลาประเมินสถานการณ์เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ปรับลดไฟสูงลงเมื่อมีรถสวน และเช็ดกระจกให้สะอาดอยู่เสมอ
10) ไม่เสี่ยง เลี่ยงอุบัติเหตุ – ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงหลุมและถนนลื่นด้วย ลดความเร็วลงเพื่อมองเห็นอุปสรรคและหลบหลีกได้ทันรถยนต์ที่มีระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว (Electronic Stability Control – ESP) จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ เพราะ ESP จะใช้ระบบเซ็นเซอร์เพื่อรักษาเสถียรภาพในการขับขี่เมื่อเกิดการลื่นไถล ด้วยการสร้างแรงดันเบรกที่เหมาะสมในแต่ละล้อและลดแรงบิดของเครื่องยนต์ลง
11) รู้จักรถของตนเอง – เมื่อเผชิญสถานการณ์คับขัน เปิดระบบสัญญาณเตือนภัย ดับเครื่องยนต์ และเช็กว่าคุณและผู้โดยสารปลอดภัยดีขั้นตอนต่อไปควรตรวจพื้นที่โดยรอบว่าสามารถออกจากรถได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ จึงเคลื่อนย้าย อย่าลืมแลกเปลี่ยนข้อมูลติดต่อหากมีคู่กรณี ที่สำคัญที่สุดคือ ตั้งสติ พร้อมช่วยเหลือ และคิดแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ เพราะการใช้อารมณ์มักจะทำให้สถานการณ์แย่ลง